รูปแบบการจัดการความรู้ (2)


รูปแบบการจัดความรู้ของแอลลาวี ซึ่งเน้นที่กระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นวงจร โดยเริ่มจากการผลิตความรู้ นำความรู้ที่ได้ไปเก็บรักษา นำออกมาเผยแพร่ และนำความรู้ดังกล่าวไปใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ดังแสดงในภาพที่ 2.6


รูปแบบการจัดการความรู้ของมอร์ส เน้นการเชื่อมโยงของกระบวนการจัดการความรู้โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 อย่างคือ การเก็บ/การนำออกมา การครอบครอง การนำไปใช้/การถ่ายทอด และการผลิตความรู้ ดังแสดงในภาพที่ 2.7



รูปแบบการจัดการความรู้ของกรอเวอร์และดาเวนพอร์ต มีมุมมองใน 3 มิติ คือ การใช้การจัดการความรู้ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร โดยมีองค์ประกอบของการจัดการความรู้คือ การพิจารณาใคร่ครวญ การลงมือปฏิบัติ กลยุทธ์ โครงสร้างขององค์กร บุคคล/วัฒนธรรม และเทคโนโลยี โดยมีกกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นวงจร เริ่มจากการสร้างความรู้ การเก็บรักษา/การนำความรู้ออกมา การส่งและการถ่ายทอดความรู้ และการนำความรู้ไปใช้เพื่อการพัฒนาตนเอง พัฒนาทีมงาน และพัฒนาองค์กรต่อไป ดังแสดงในภาพที่ 2.8



รูปแบบการบริหารจัดการความรู้เชิงมโนทัศน์ของลี (Lee, 1997) อธิบายว่ากระบวนการจัดการองค์ความรู้จะเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ คือ วัฒนธรรมที่สร้างสรรค์ความรู้ สาธารณูปโภคทางเทคโนโลยี ข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ ความรู้เกี่ยวกับองค์กร การปฏิบัติที่ดีที่สุดในองค์กร และสมรรถนะหลักและการบูรณาการสมรรถนะหลัก ดังแสดงในภาพที่ 2.9



รูปแบบการจัดการความรู้ มีรูปแบบที่หลากหลายซึ่งไม่แน่นอนตายตัว การจะนำรูปแบบจัดการความรู้แบบใด ไปใช้ในองค์กรต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรนั้นๆ ที่สำคัญคือ ต้องเหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ ซึ่งแต่ละองค์กรไม่จำเป็นต้องยึดติดรูปแบบใดแบบหนึ่ง องค์กรหนึ่งอาจใช้รูปแบบหนึ่งประสบความสำเร็จ แต่รูปแบบนั้นอาจไม่สามารถนำไปใช้ในอีกองค์กรหนึ่งได้ บางองค์กรอาจต้องใช้รูปแบบการจัดการความรู้แบบผสมผสานกันหลายรูปแบบจึงจะสำเร็จ

**************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น