การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)

บีวีโซคิลเอม (Bvsokiiaim, 2011 : ออนไลน์) อธิบายว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นกระบวนการที่ใช้เทคนิคการศึกษา การวิเคราะห์ และการออกแบบระบบสารสนเทศขององค์กรให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบางครั้งจะเรียกวิธีการดำเนินงานในลักษณะนี้ว่า “การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design)” เนื่องจากผู้พัฒนาระบบต้องศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการ การไหลเวียนของข้อมูล ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้า ทรัพยากรดำเนินงาน และผลลัพธ์ เพื่อทำการออกแบบระบบสารสนเทศใหม่ แต่ในความเป็นจริงการพัฒนาระบบมิได้สิ้นสุดที่การออกแบบ ผู้พัฒนาระบบจะต้องดูแลการจัดหา การติดตั้ง การดำเนินงาน และกระประเมินระบบว่าสามารถดำเนินงานได้ตามต้องการหรือไม่ ตลอดจนกำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบในอนาคต อย่างไรก็ดีจะใช้ทั้ง “การพัฒนาระบบ” และ “การวิเคราะห์และออกแบบระบบ” ในความหมายที่ทดแทนกัน การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นงานที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวข้องกับบุคลากรและส่วนประกอบขององค์การในหลายด้าน จึงต้องมีแนวทางและแผนดำเนินงานที่เป็นระบบ เพื่อที่จะให้ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมีความสมบูรณ์ตรงตามความต้องการและสร้างความพอใจแก่ผู้ใช้ แต่ถ้าระบบที่พัฒนาขึ้นมีปัญหาหรือขาดความเหมาะสมก็อาจก่อให้เกิดผลเสียทั้งโดยตรงและทางอ้อมแก่ธุรกิจ โดยเฉพาะในด้านค่าใช้จ่ายที่สูงและความเชื่อมั่นที่สูญเสียไป

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์ (2551 : 66-77) กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การวางแผนระบบ-->การวิเคราะห์ระบบ-->การออกแบบระบบ -->การปรับใช้ระบบ--> การบำรุงรักษาระบบและได้ระบุหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการพัฒนาระบบ มี 14 ข้อ ได้แก่
  1. คำนึงถึงเจ้าของระบบและผู้ใช้ระบบ เพื่อให้ได้ระบบตรงต่อความต้องการมากที่สุด และควรคำนึงถึงบทบาทของเจ้าของระบบว่า เป็นผู้ตัดสินใจลำดับสุดท้ายในการแสดงความพึงพอใจต่อระบบที่พัฒนาขึ้นมา
  2. ปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ใช้ระบบ ให้มีทัศนคติที่เปลี่ยนไปได้ว่า การนำคอมพิวเตอร์มามีส่วนร่วมในการทำงานนั้น ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำให้งานเกิดความรวดเร็วและถูกต้องมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรที่ตนทำงานอยู่
  3. พิจารณาถึงต้นทุน โดยเฉพาะการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะนำเข้ามาใช้ในระบบ
  4. พยายามเข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ต้องนึกถึงปัญหาที่วิเคราะห์มาว่าเป็นปัญหา ที่เกิดขึ้นจริง และมีโอกาสในการแก้ปัญหานั้นได้ รวมทั้งต้องพยายามจับประเด็นถึงสาเหตุของปัญหาให้ได้
  5. ในการพัฒนาระบบจะต้องมีการกำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ควรจะ ทำอย่างชัดเจน
  6. กำหนดมาตรฐานในระหว่างการพัฒนาระบบ เพื่อให้เป็นกฎ/ระเบียบ ในการปฏิบัติงาน อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
  7. จัดทำเอกสารประกอบทุกขั้นตอน และจะต้องมีความเป็นระเบียบ ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันมากที่สุด รวมถึงจะต้องมีรายละเอียดอย่างชัดเจนและสามารถนำไปใช้งานได้จริง
  8. ตรวจสอบการปฏิบัติงานในการพัฒนาระบบ ว่าเป็นไปตามความต้องการ ของเจ้าของระบบหรือผู้ใช้ระบบหรือไม่
  9. นักวิเคราะห์ระบบควรเพิ่มความรอบคอบในการวิเคราะห์ถึงปัญหาต่างๆ ควร หาทางเลือกให้มากพอสมควร แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน
  10. ควรมีการพิจารณาถึงประสิทธิผลของความคุ้มค่าในการลงทุน (Cost-effectiveness) ของแต่ละแนวทางเลือกประกอบกันไปด้วย
  11. เตรียมความพร้อมหากแผนงานหรือโครงการต้องถูกยกเลิก หรือต้องทบทวนใหม่ในระหว่างการพัฒนาระบบนั้น อันเนื่องจากการวิเคราะห์และประเมินผลแล้วว่าเป็นโครงการที่มีข้อผิดพลาดหรือไม่คุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรได้
  12. แตกระบบใหญ่ให้เป็นระบบย่อย แล้วทำการแก้ปัญหาไปทีละส่วน นั่นคือ การแบ่งแยกปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากสาเหตุใดบ้าง แล้วแก้ปัญหานั้นทีละสาเหตุ ก็จะสามารถทำให้กระบวนการแก้ไขปัญหานั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  13. ออกแบบระบบเพื่อรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
  14. ต้องตระหนักถึงความต้องการสำคัญที่นำมาใช้พัฒนาระบบ ก็คือความต้องการจากผู้ใช้งาน รวมไปถึงการคาดการณ์ถึงความต้องการของผู้ใช้ระบบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
ส่วน ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล (2549: 302-304) ได้ระบุว่าหลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ มี 8 ข้อดังนี้
  1. คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
  2. เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด
  3. กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
  4. กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
  5. ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
  6. เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา
  7. แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
  8. ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือปรับเปลี่ยนในอนาคต
ปัญหาของการพัฒนาระบบสารสนเทศ จิรพันธ์ แดงเดช (2547 : สไลด์) กล่าวว่า มักจะมีปัญหาที่เคยเกิดขึ้นจนการพัฒนาระบบไม่สำเร็จ ได้แก่ ไม่สนใจผู้ใช้และผู้ใช้ไม่มีส่วนร่วม ผู้ใช้ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ความต้องการไม่ชัดเจน การประมาณการที่ผิดพลาด ความรู้ไม่ตรงกับ ที่ต้องการ และวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน 

สรุปได้ว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยทั่วไปจะมีขั้นตอนหลัก 5 ขั้นตอนได้แก่ การวางแผนระบบ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การปรับใช้ระบบ และการบำรุงรักษาระบบ ซึ่งก็จะมีหลักเกณฑ์สำคัญที่ควรคำนึงอยู่เสมอในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพและมีคุณภาพตามที่ผู้ใช้ต้องการ ปัญหาที่มักจะทำให้การพัฒนาระบบสารสนเทศไม่สำเร็จ ได้แก่ ไม่สนใจผู้ใช้และผู้ใช้ไม่มีส่วนร่วม ผู้ใช้ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ความต้องการไม่ชัดเจน การประมาณการที่ผิดพลาด ความรู้ไม่ตรงกับที่ต้องการ และวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน

**********************************

1 ความคิดเห็น:

  1. Your Affiliate Money Printing Machine is waiting -

    And making profit with it is as easy as 1..2..3!

    Here are the steps to make it work...

    STEP 1. Input into the system which affiliate products you intend to promote
    STEP 2. Add PUSH BUTTON traffic (this ONLY takes 2 minutes)
    STEP 3. Watch the system explode your list and up-sell your affiliate products all for you!

    Are you ready to make money automatically???

    Your MONEY MAKING affiliate solution is RIGHT HERE

    ตอบลบ