เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ได้เปิดสอนและผ่านการรับรองของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ (จารึก ชูกิตติกุล, 2553 : 6) คือ วิทยาการคุณภาพที่บูรณาการเข้ากับเทคโนโลยีชั้นสูง (advanced technologies) หรือคอมพิวเตอร์ แล้วก็ให้เกิดเครื่องมือใหม่ที่เรียกว่าเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพที่มีลักษณะเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงเช่นเดียวกัน เพราะบูรณาการเข้ากับคอมพิวเตอร์ซึ่งทำให้ระเบียบวิธีคุณภาพ (Quality methodologies) มีประสิทธิภาพสูงสุด 

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ มีลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้ดังนี้ (จารึก ชูกิตติกุล, 2548 : 6-8 ) 

  1. เป็นสาขาวิชาแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ที่ค้นคว้าบูรณาการศาสตร์ด้านคุณภาพเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างเทคโนโลยีชั้นสูงของคุณภาพสำหรับการจัดการผลิต และบริการองค์กรวิชาชีพต่างๆ
  2. เป็นการออกแบบและ/หรือพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อประโยชน์ในการผลิตเครื่องมือคุณภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) 
  3. องค์ความรู้ต้องเกิดจากการบูรณาการศาสตร์สามประเภท (ดูภาพประกอบที่ 2.11) ได้แก่

    1. วิทยาการคุณภาพของศาสตร์หลัก เช่น การศึกษา การบริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ การวิจัย สาธารณสุข เศรษฐศาสตร์ การอุตสาหกรรม จิตวิทยา เป็นต้น
    2. ระเบียบวิทยาการและเทคนิคคุณภาพ เช่น การบริหารคุณภาพเบ็ดเสร็จ ผู้จัดการนาทีเดียว สุดยอดการบริการ นิสัยดีเจ็ดประการ องค์การแห่งการเรียนรู้ บาลานซ์สกอร์คาร์ด ปัญญาอารมณ์ ซิกซ์ ซิกม่า เป็นต้น 
    3. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่บูรณาการเข้ากับศาสตร์และวิธีการในสองประการข้างต้น เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพในแนวใหม่ที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนช่วยให้เทคโนโลยีสานสนเทศฉลาดได้
ทฤษฎีเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ
จารึก ชูกิตติกุล (2548 : 10-11) กล่าวถึงทฤษฎีเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพว่ามีอยู่ 2 ทฤษฎี ที่จะนำไปใช้ในการวิจัย แต่ละทฤษฎีมีตัวแบบทางความคิด ดังนี้ 
ทฤษฎีที่ 1



ทฤษฎีแรกนี้เริ่มที่การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) เข้าไปเสริมวิทยาการคุณภาพ (คิวเอ็ม) ให้มีรูปแบบบูรณาการเป็นองค์ความรู้ใหม่ คือ เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ (คิวไอที) และผลิตต้นแบบหรือระบบของคิวไอที คือ ซีเอคิวไอ ให้องค์การธุรกิจหรือองค์การภาครัฐเป็นการเฉพาะยุทธศาสตร์คุณภาพขององค์การนั้นๆ
ทฤษฎีที่ 2 



ทฤษฎีที่สองเริ่มที่นำวิทยาการคุณภาพ (คิวเอ็ม) เข้าไปประยุกต์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ให้มีคุณภาพสูงขึ้น (การออกแบบระบบสถาปัตยกรรมหรือการพัฒนาซอฟต์แวร์) อันจะทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ (คิวไอที) ที่สามารถผลิตต้นแบบสถาปัตยกรรมหรือระบบคิวไอที หรือซีเอคิวไอ ให้องค์การธุรกิจหรือองค์การภาครัฐเป็นการเฉพาะยุทธศาสตร์คุณภาพขององค์การนั้นๆ 

จากที่กล่าวมาเห็นได้ว่า การวิจัยการพัฒนาตัวแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพจัดการความรู้ด้วยเว็บบล็อกนี้ เป็นไปตามหลักการในวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ โดยได้ดำเนินบูรณาการศาสตร์ 3 ประเภทเข้าด้วยกัน ได้แก่ กระบวนการจัดการความรู้ กระบวนการดีเมอิกตามระเบียบวิธีการและเทคนิคคุณภาพซิกซ์ ซิกม่า และเทคโนโลยีเว็บบล็อก แล้วก่อให้เกิดเป็นตัวแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพจัดการความรู้ด้วยเว็บบล็อก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพที่มีลักษณะเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงด้วย ดังภาพประกอบที่ 2.12



โดยในการวิจัยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพจัดการความรู้ด้วยเว็บบล็อกนี้ มีตัวแบบทางความคิดคือ


ตัวแบบทางความคิดดังกล่าว คือ การนำวิธีการและเทคนิคคุณภาพมาประยุกต์กับเทคโนโลยีเว็บบล็อก เพื่อให้เกิดคุณภาพ แล้วนำไปใช้ในการจัดการความรู้ ซึ่งจะทำให้การจัดการความรู้นั้นมีคุณภาพตามไปด้วย

************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น